โรคภูมิแพ้ในเด็ก

 

การดูแลเด็กที่มีภาวะภูมิแพ้ เป็นเรื่องที่ท้าทายผู้ใหญ่มาก เพราะคงไม่สามารถห้ามเด็กทานอาหารจานโปรด, ห้ามเด็กเข้าใกล้สุนัขหรือแมว, หรือห้ามเด็กไปบ้านเพื่อน

ดังนั้น การรู้สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะภูมิแพ้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น การที่มีอาการแพ้ไข่ ไม้ได้หมายความว่าไม่สามารถรับประทานไข่ได้ แต่ขึ้นกับว่าร่างกายแพ้โปรตีนชนิดใดในไข่ โปรตีนที่แพ้นั้นเป็นโปรตีนที่ทนความร้อน หรือเป็นโปรตีนที่สลายไปเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นการได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องจากแพทย์เฉพาะทางด้านภูมิแพ้ จะทำให้ได้รับคำแนะนำเพื่อดูแลได้ถูกต้อง

 

 

โรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยในเด็ก


 

ภาวะแพ้อาหาร

เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการแพ้อาหาร ทำให้ต้องหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นๆซึ่งสามารถทำได้ดี  เมื่ออยู่ที่บ้าน แต่เมื่อเด็กโตขึ้น มีการรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น จึงมีโอกาสที่จะได้รับอาหารชนิดนั้น และเกิดอาการแพ้ขึ้นได้  จากการศึกษาพบว่าประมาณ 4% ของเด็กนักเรียนจะมีภาวะแพ้อาหาร     และพบว่า 16-18% ของเด็กเหล่านี้ จะเกิดการแพ้อาหารที่โรงเรียน   และพบว่าภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ส่วนใหญ่เกิดจากแพ้อาหารและ 8% เกิดขึ้นในเด็ก

เรียนรู้เพิ่มเติม >

ภาวะผื่นแพ้

เมื่อเด็กมีภาวะผื่นแพ้ และมีอาการคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง ซึ่งจะส่งผลต่อการนอนหลับ พบว่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะสูญเสียเวลาในการนอนหลับประมาณ 2 ชั่วโมง ใน 1 คืน วิธีที่ดีที่สุดจึงควรหาสาเหตุของการเกิดผื่นแพ้เพื่อจะได้ดูแลและควบคุมอาการได้

เรียนรู้เพิ่มเติม >

การติดเชื้อที่หู

ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยของภาวะภูมิแพ้ คือ การติดเชื่อที่หู ภาวะภูมิแพ้จะทำให้เกิดการอักเสบ เกิดอาการบวมทำให้หูชั้นนอกเกิดการอุดตัน การวินิจฉัยและการรักษาภูมิแพ้ที่ถูกต้องจะสามาถป้องกันโรคนี้ได้

เรียนรู้เพิ่มเติม >


อ่านอะไรต่อดี?

อาการของโรคภูมิแพ้

คุณรู้จักกับโรคภูมิแพ้ไปคร่าวๆแล้ว ต่อมาเรามาดูอาการของมันกันบ้าง ว่าแบบไหน ถึงเรียกว่าภูมิแพ้ เราแนะนำให้คุณลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคนี้กันบ้าง ว่าคุณเคยเป็นอาการเหล่านี้รึเปล่า เช่น ผื่น ลมพิษ น้ำมูกไหล ตาอักเสบ หอบหืด ปากบวม ปวดท้อง หรือแม้กระทั้งมีอาการรุนแรงอย่างเฉียบพลัน (Anaphylatic reaction) และอะไรคือสาเหตุของอาการเหล่านี้

อ่านต่อ>>

ภูมิแพ้ข้ามกลุ่ม

บางครั้งเราก็ไม่ได้แพ้อะไรเพียงอย่างเดียว เพราะเราอาจจะแพ้อะไรต่างชนิดกันที่มีลักษณะของโปรตีนที่คล้ายกัน เช่นแพ้กุ้งและไรฝุ่น หรือแพ้เกสรดอกไม้และผลไม้หลากหลายชนิด มาลองดูการแพ้ข้ามกลุ่มที่พบได้ทั่วไปดีกว่า

อ่านต่อ>>


References

1. Branum AM, Lukacs SL. Food allergy among U.S. children: trends in prevalence and hospitalizations. NCHS Data Brief. 2008;10:1-8.

2. Nowak-Wegrzyn A, Conover-Walker MK, Wood RA. Food-allergic reactions in schools and preschools. Arch Pediatr Adolesc Med. 2001; 155(7):790-795.

3. Sicherer SH, Furlong TJ, DeSimone J, Sampson HA. The US peanut and tree nut allergy registry: characteristics of reactions in schools and day care. J Pediatr. 2011; 138(4): 560-565.

4. Cianferoni A, Muraro A. Food-Induced Anaphalaxis. Immunol Allergy Clin North Am. 2012;165-195.

5. Wang J, Sampson HA. Food anaphylaxis. Clin Exp Allergy. 2007; 37(5):651-60.

6. Reid P, et al. Clin Exp Dermatol. 1995;20:38-41.