Cross-Reactivity

จากการที่สารโปรตีนบางอย่าง เช่นโปรตีนที่อยู่ในเกสรต้นไม้ จะมีโครงสร้างคล้ายกับโปรตีนที่มีอยู่ในผักและผลไม้ ดังนั้นเมื่อร่างกายเคยถูกกระตุ้นจากโปรตีนเกสรต้นไม้ ร่างกายก็จะเกิดปฏิกริยาภูมิแพ้กับโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายกันที่อยู่ในผักและผลไม้ด้วย ซึ่งจะเป็นภาวะภูมิแพ้จริงหรือไม่ก็ตาม ระบบภูมิต้านทานของร่างกายก็จะมีปฏิกริยาและเกิดอาการได้เช่นกัน จากการที่ ระบบภูมิต้านทานของร่างกายจะมีปฎิกริยาต่อสารที่มีโครงสร้างหรือมีลักษณะทางชีวภาพที่คล้ายกัน ซึ่งทำให้เกิดปฎิกริยาต่อสารข้ามชนิดกัน (cross reactivity) การวินิจฉัยว่า การที่เรามีภาวะภูมิแพ้ต่อสารชนิดหนึ่ง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้ต่อสารข้ามชนิดอื่นหรือไม่ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่เราจะได้เลือก หรือหลีกเลี่ยง อาหารได้อย่างถูกต้อง

 

 

ตัวอย่างที่พบบ่อยของ Cross-Reactivity


 

ผู้ที่แพ้ไรฝุ่น

โปรตีนในไรฝุ่นมีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดปฎิกริยาข้ามชนิดกับกุ้งได้ ดั้งนั้นการพบผู้เชี่ยวชาญทางโรคภูมิแพ้จึงมีความสำคัญเพื่อให้คำแนะนำในการเลี่ยงได้ถูกต้อง3

ผู้แพ้เกสรดอกไม้

โปรตีนในเกสรดอกไม้มีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดปฎิกริยาข้ามชนิดกับผลไม้บางอย่างเช่น แอปเปิ้ล เชอร์รี่ หรือลูกแพร์ได้ ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ที่ปาก5

ผู้ที่แพ้ถั่ว

มีโอกาสสูงที่โปรตีนจะเกิดปฎิกริยาข้ามชนิดกัน เช่นในมะม่วงหิมพานต์ ต่อถั่วพิตาชิโอ1 และถั่ววอลนัท ต่อถั่วเฮเซลนัท ต่อถั่วพีแคน2 ดังนั้นการพบผู้เชี่ยวชาญทางโรคภูมิแพ้จึงมีความสำคัญเพื่อที่จะให้คำแนะนำในการหลีกเลี่ยงได้ถูกต้อง

ผู้ที่แพ้นมวัว

มีความเสี่ยงที่จะแพ้ต่อ: เนื้อวัว หรือนมชนิดอื่นๆ เช่น นมแพะ4

ผู้ที่แพ้ต่อข้าวสาลี

มีความเสี่ยงที่จะแพ้ต่อ: ข้าวชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวบาร์เล่ย์  หรือ ข้าวไรย์

ผู้ที่แพ้ถั่วลิสง

มีความเสี่ยงที่จะแพ้ต่อ: พืชตระกูลถั่วอื่นๆ

ผู้ที่แพ้พีช

มีความเสี่ยงที่จะแพ้ต่อ: แอปเปิ้ล พลัม เชอร์รี่ หรือ ลูกแพร์
 

ผู้ที่แพ้ยางธรรมชาติ

มีความเสี่ยงที่จะแพ้ต่อ: ผลไม้บางชนิด เช่น กีวี , กล้วย หรือ อาโวกาโด

ผู้ที่แพ้วอลนัท

มีความเสี่ยงที่จะแพ้ต่อ: พืชตระกูลถั่วอื่นๆ รวมทั้ง มะม่วงหิมพานต์ ถั่วเฮเซลนัท


อ่านอะไรต่อดี?

ข้อมูลทั่วไปของการตรวจ

ตอนนี้คุณมีความรู้เกี่ยวกับอาการของโรคภูมิแพ้ในเบื้องต้นแล้ว ทีนี้จะรู้ได้ยังไงว่าคุณเป็นภูมิแพ้รึเปล่า มีวิธีอะไรบ้าง และองค์การอนามัยโลกหรือ WHO นั้นได้แนะนำวิธีอะไรบ้าง

อ่านต่อ>>

การตรวจเลือดหาสารก่อภูมิแพ้
เป็นวิธีที่ WHO แนะนำ ได้ผลและรวดเร็ว คุณคงไม่ถูกใจเท่าไหร่ถ้าหากจะต้องตรวจด้วยการเอาสารต่างๆ มาจิ้มตามแขนคุณและดูว่าคุณจะแพ้มันหรือไม่ หรือต้องรับประทานสิ่งที่เราสงสัยว่าจะแพ้มัน คุณจะต้องไม่แฮปปี้กับมันแน่ๆ ที่คุณจะต้องมามีร่องรอยการแพ้เกิดขึ้นตามร่างกายเพื่อทดสอบว่าคุณแพ้อะไร แต่การตรวจด้วยเลือดนั้น เพียงแค่ เจาะเลือด เข้าเครื่อง ดูผล แค่นั้นเอง ไม่ต้องเจ็บตัวด้วย

อ่านต่อ>>